หมวด พืช ผักพื้นบ้าน สมุนไพร

 

ผัก

 ชื่อ รูป  ลักษณะที่ดี / สรรพคุณ
มะเขือเปราะ    ผลทรงกลมขนาดเท่าลูกมะนาว  สีขาวอมเขียว  กินได้ทั้งเป็นผักสดและใส่แกง  เลือกซื้อลูกอ่อนกำลังกิน  กลีบเลี้ยงที่ขั้วมะเขือจะหุ้มติดกับลูกมะเขือเนื้อเยอะเล็กน้อย
 มะเขือพวง    ผลกลมเม็ดเท่าถั่วลันเตา  สีเขียวอ่อน เลือกซื้อที่สดมีเปลือกเต่งตึง ไม่เหี่ยว และติดกับขั้วเป็นพวงไม่ร่วงเป็นลูก ๆ

ผลอ่อนให้รับประทานเป็นผักสด หรือลวกสุกร่วมกับน้ำพริก ผลอ่อนให้ใส่อาหารหลายชนิดเช่นแกง เผ็ด น้ำพริกกะปิ แกงเขียวหวานเป็นต้น

ประโยชน์
– แก้ไอ ขับเสมหะ ลำต้นใช้ช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ปวด ใบใช้ห้ามเลือด รักษาฝี หนอง รากใช้ผสมเป็นยาแก้ไขขับเสมหะ

รายการอาหารที่มี มะเขือพวง เป็นส่วนประกอบ ได้แก่ แกงเขียวหวานไก่

 ถั่วฝักยาว    มีเนื้อละเอียดและกรอบ มีกลิ่นและรสในตัวเองไม่มาก  มีน้ำมาก  เลือกซื้อฝักสีเขียวสด  ฝักไม่บวมและเหลือง
 ข้าวโพดอ่อน    ให้รสหวาน กรอบ เลือกซื้อโดยสังเกตที่เมล็ดข้าวโพดยังอ่อน ๆ ฝักเรียงยาว ร่องระหว่างเมล็ดไม่ลึก  ถ้าลึกแสดงว่าเป็นข้าวโพดอ่อนที่แก่
 บวบเหลี่ยม    ผิวของบวบเหลี่ยมมี 10 เหลี่ยม  ก่อนนำมาผัดหรือต้มแกง  ต้องปอกเปลือกตรงเหลี่ยมออกแล้วหั่น  การเลือกบวบเหลี่ยมต้องเลือกที่อ่อน ๆ โดยสังเกตลูกจะไม่โต  เปลือกสีเขียวอ่อน ไม่แข็ง เหลี่ยมไม่สูง

ผลสดนำมาผัดกับเนื้อสัตว์ ใส่ในแกงเลียง นำมาลวกรับประทานกับน้ำพริก ยอดอ่อนนำมาลวกหรือใส่ในแกง

ประโยชน์
แก้ลม บำรุงหัวใจ ผลสดแก้คัน เมล็ดเป็นยาระบายและแก้ร้อนใน

รายการอาหารที่มี บวบเหลี่ยม เป็นส่วนประกอบ ได้แก่ แกงเลียง

 ผักคะน้า    เลือกคะน้าต้นขนาดกลาง  ผักจะกรอบอร่อย  ไม่มีรสขมและไม่มีกลิ่นเหม็นเขียวมาก
 ถั่วพู    ลักษณะเป็นผักมีปีกหรือเหลี่ยมอยู่ 4 ข้างของฝัก เลือกที่สีเขียวอ่อน  ตรงปีกที่เป็นเหลี่ยมไม่เน่าหรือเป็นรอยดำ  เพราะจะเป็นผักเก่าและไม่สด
 ผักบุ้ง    มี 2 ชนิดคือ ผักบุ้งไทยและผักบุ้งจีน1. ผักบุ้งไทยแบ่งออกได้ 2 ชนิดคือ ผักบุ้งน้ำ ยอดจะมีสีเขียว ใบเรียวสวยและ ผักบุ้งนา  ยอดออกเป็นสีแดง ใบเรียวเล็กกว่า

2. ผักบุ้งจีน  ลำต้นผอม เลือกใบสด ไม่ช้ำ นิยมนำมาทำผัดผักบุ้งไฟแดง

 ถั่วงอก    ถั่วงอกในปัจจุบันที่นิยมกินกันมีหลายชนิด  แต่ที่นำมาปรุงอาหารส่วนมากจะเป็น  ถั่วงอกที่เพาะจากถั่วเขียวและถั่วดำ และถั่วงอกหัวโตที่เพาะจากเมล็ดถั่วเหลือง
 พริกชี้ฟ้าเขียว พริกชี้ฟ้าแดง    เลือกที่มีผิวเปลือกสดเต่งตึง เนื้อพริกหนา ไม่เหี่ยว ขั้วมีสีเขียวสด นำมาหั่นหรือแกะสลักสำหรับตกแต่งจานอาหาร รวมทั้งใส่ในแกงและผัด
 พริกชี้ฟ้าเหลือง    พริกมีสีเหลืออมส้ม มีกลิ่นหอมเผ็ดกว่าพริกชี้ฟ้าแดงและเขียว เลือกซื้อพริกที่ผิวเปลือกสด เต่งตึง เนื้อพริกหนา ไม่เหี่ยว ขั้วมีสีดเขียวสด นิยมนำมาทำน้ำพริก พริกดองและผัด
 พริกขี้หนู พริกขี้หนูสวน    พริกที่มีขนาดเล็ก รสเผ็ด กลิ่นหอม เลือกขั้วเขียวสดถ้าเป็นแบบเด็ดขั้วขาย ให้เลือกส่วนหัวที่ยังขาวอยู่เพราะแสดงว่าเป็นพริกที่เพิ่งเด็ดขั้วใหม่ ๆ

แก้ลมจุกเสียด แก้ท้องขึ้นอืดเฟ้อ ขับผายลม เจริญอาหาร
ผสมวาสลินใช้ทาถูนวด แก้เคล็ดขัดยอก ฟกช้ำดำเขียว แก้ปวดตามข้อ
ทำให้การไหลเวียนของเลือด ดีขึ้น

 พริกกะเหรี่ยง    เป็นพริกเม็ดเล็กที่มีกลิ่นหอม เม็ดอวบป้อม มีทั้งสีเขียวอ่อน เหลือง ส้มและแดง ตามลักษณะอ่อนแก่  เลือกผิวไม่เหี่ยว มีสีแดงอ่อน ๆ และขั้วเขียวสด
 พริกหยวก    พริกเม็ดอ้วนป้อม สีเขียวอ่อน รสไม่เผ็ดมาก มีกลิ่นหอม เลือกซื้อพริกเม็ดสีเขียวใส ผิวสด ไม่เหี่ยว ขั้วสดไม่ดำ
 พริกหวาน    รสไม่เผ็ด ส่วนใหญ่ใช้เป็นผักมากกว่า ใช้ปรุงอาหาร มีทั้งสีเขียว สีแดง สีเหลืองและสีส้ม เลือกขนาดพอเหมาะ ขั้วมีสีเขียวติดแน่น ไม่ดำ มีสีสม่ำเสมอกันทั้งเม็ด
 เห็ดฟาง    มีลักษณะเป็นดอกกลม ๆ สีขาว เลือกเห็ดดอกตูม ๆ มาปรุงอาหารจะได้รสชาติดีกว่า เห็ดดอกบาน ๆ การเก็บเห็ดฟางอย่าล้างน้ำเด็ดขาด เห็ดจะเน่าเมื่อยังไม่ปรุงให้ผึ่งในตะกร้าและซื้อมาแล้วใช้ให้หมดในครั้งเดียว
 เห็ดนางฟ้า    มีลักษณะคล้ายกับเห็ดเป๋าฮื้อและเห็ดนางรม  หมวกดอกจะหนา ดอกเห็ดมีสีขาวนวลถึงน้ำตาลอ่อน เห็ดนางฟ้ามีรสหวาน เลือดดอกเห็ดขนาดกลางสีขาวนวล ไม่เน่าเละ
 เห็ดหอม    มีกลิ่นหอม เนื้อนุ่ม เห็ดหอมสด เลือกซื้อดอกที่มีเนื้อหนาสีออกน้ำตาลอ่อน เพราะจะมีรสหวานและหอม ส่วนเห็ดหอมแห้งมีทั้งของจีนและของญี่ปุ่น
 ผักชีฝรั่ง    ใบเรียวยาว ขอบใบเป็นหยัก ๆ ฟันเลื่อย มีกลิ่นหอม กินเป็นผักสดกับน้ำพริก ลาบ ยำ หรือซอยใส่ต้มนำ ต้มแซบ ดับกลิ่นคาวของปลา เนื้อ หมู เลือกซื้อที่สดในหนึ่งต้นมีใบอ่อนมากกว่าใบแก่ ใบมีสีเขียวสด
 ผักชี    ผักกลิ่นหอม เลือกใบเขียวอ่อน สด และยังมีรากติดอยู่  การเก็บผักชีให้สด ต้องล้างรากให้สะอาด ห่อด้วยกระดาษ  แช่รากลงในถังน้ำจะช่วยให้ผักชีสด เมื่อผักชีฟื้นแล้ว ทำต้นผักชีให้สะเด็ดน้ำ ใส่ถุงพลาสติกแช่ตู้เย็นช่องผัก

ผักชีใช้ประโยชน์ทั้งลำต้น ราก ใบและลูก อาหารไทยส่วนมากมักโรยหน้าด้วยใบผักชีเพื่อแต่งกลิ่นและตกแต่งให้อาหารน่ากิน ลูกผักชีใช้ผสมในเครื่องแกง เช่น แกงเผ็ด แกงเขียวหวาน แกงกะหรี่ แกงมัสมั่น ทำให้แกงมีกลิ่นหอม รากผักชีมักใช้ร่วมกับกระเทียมแต่งกลิ่นแกงจืดให้หอม ใช้ทำไส้ขนม เช่น ปั้นขลิบ สาคูไส้หมู และขนมเทียนไส้เค็ม

ประโยชน์
– มีฤทธิในการขับลม
– ขับปัสสาวะ

 ต้นหอม    เลือกซื้อที่ยังมีรากอยู่ ลำต้นแข็งแรงไม่เหี่ยว มีสีเขียวสด ใบกลมเรียวยาว ปลายแหลม เก็บต้นหอมทั้งราก ล้างให้สะอาด ห่อด้วยกระดาษ แช่รากในถังน้ำ จะเขียวสดได้นาน
 แตงกวา    เลือกซื้อผิวสีเขียวปนขาว ผิวแตงยังมีนวลอ่อน ๆ เลือกลูกขนาดกลางไม่เล็กหรือใหญ่เกินไป เนื้อแตงจะมีรสหวาน ถ้าลูกเล็กมากจะเป็นแตงอ่อนมีรสขมและยางมาก ส่วนแตงลูกใหญ่จะเป็นแตงแก่ มีเมล็ดมาก เนื้อน้อย
 แตงร้าน    เลือกลูกตรงผิวไม่เหลือง มีลายสีเขียว สลับขาว ถ้าผิวเหลืองจะเป็นแตงแก่ มีไส้มากเนื้อน้อย เมื่อซื้อแล้วอย่าล้างน้ำ  ให้ผึ่งหรือใส่ตู้เย็นไว้เพราะเมื่อแตงถูกน้ำจะทำให้ผิวแตงเหลือง
 ผักกาดหอม    เลือกใบสด สีเขียวอ่อน ต้นขนาดกลาง ใบจะมีรสอมหวาน ถ้าใบเขียวมากจะมีรสขม เมื่อล้างผักกาดหอมแล้ว พักให้สะเด็ดน้ำ ห่อด้วยกระดาษ ใส่ถุงพลาสติก แช่ตู้เย็นช่องผัก
 ฟักเขียว    ใช้ฟักอ่อน ลูกเล็ก  เลือกเปลือกสีเขียวในการทำต้มหรือแกง  เลือกลูกใหญ่เปลือกสีขาว มีนวลมาก  เนื้อแน่น  นิยมนำมาตุ๋น หรือนำมาเชื่อมเป็นขนมหวาน
 กะหล่ำปลี    มีทั้งกะหล่ำปลีสีเขียวและกะหล่ำปีสีม่วง เลือกหัวที่มีน้ำหนักมาก  กอบนอกสด  ไม่มีรอยเน่า  นิยมใช้กะหล่ำปลีเขียวทำอาหาร ส่วนกะหล่ำปลีม่วงใช้ตกแต่งจาน
 ขึ้นฉ่าย    เลือกต้นที่แข็งแรง  ก้านสด  ไม่เหี่ยว  และไม่มีรอยช้ำเน่า  เมื่อซื้อมาแล้วต้องล้างรากให้สะอาด  พักให้สะเด็ดน้ำ  แล้วห่อด้วยกระดาษ  ใส่ถุงพลาสติก  แช่ตู้เย็นช่องผัก
 มะนาว    มีให้เลือกหลายพันธุ์  พันธุ์ที่ใช้มากเป็นมะนาวแป้น ลักษณะลูกกลมแป้นเพราะมีน้ำมาก เลือกลูกที่มีเปลือกบาง  ผิวเปลือกสีเขียวอมเหลือง

น้ำมะนาวใช้เป็นเครื่องปรุงรสอาหารให้เปรี้ยว ใส่ในต้มยำ ส้มตำ พล่า ยำ น้ำพริกชนิดต่างๆ เช่น น้ำพริกกะปิ ปลาหมึกนึ่งมะนาว ใช้ผสมน้ำเป็นเครื่องดื่ม

ประโยชน์
– แก้ไอ ขับเสมหะ
– รักษาท้องอืด ท้องเฟ้อ
– แก้โรคลักปิด ลักเปิด

 มะเขือเทศ    มีทั้งมะเขือเทศเนื้อลูกใหญ่สีแดง(เมื่อสุก)  มะเขือเทศสีดา ลูกเล็กรี และมะเขือส้มลูกเล็กกลม เลือกผิวเหลือกที่สดเต่งตึง ขั้วสีเขียวสด ลูกไม่ช้ำ
 ข้าวโพดดิบ    เลือกข้าวโพดที่เมล็ดเรียงกันเป็นแถวสวยงาม สม่ำเสมอ  เมล็ดเต่งตึง  หรือจะใช้เล็บจิกเมล็ดข้าวโพดที่ปลายฝัก  ถ้าน้ำแป้งไหลออกมาแสดงว่าข้าวโพดแก่กำลังกิน

ที่มา
นิดดา หงษ์วิวัฒน์. 2548. พิมพ์ครั้งที่ 6. อาหารไทย. กรุงเทพฯ : แสงแดด.
Thai Food To World
ครัวข้างบ้าน
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

ใส่ความเห็น