ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง

ทองหยิบ  ทองหยอด  ฝอยทอง

กล่าวกันว่าขนมหวานไทย  ที่มีชื่อนำหน้าว่า “ทอง”  อาทิ ทองหยิบ  ทองหยอด ทองพลุ ทองเอก หรือฝอยทอง ฯลฯ
ล้วนเกิดจากฝีมือ   การประดิษฐ์คิดค้นของ  “ท้าวทองกีบม้า”   ภริยาของเจ้าพระยาวิไชเยนทร์  (คอนสแตนติน  ฟอลคอน)  ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เชื้้อสายกรีก
ในสมัยแผ่นดิน สมเด็จพระนารายณ์มหาราช   แห่งกรุงศรีอยุธยา

หนังสือจดหมายเหตุฝรั่งโบราณกล่าวไว้ว่า ภรรยาของฟอลคอนชาวต่างประเทศที่เข้ามาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จนต่อมาฟอลคอนได้เข้ารับราชการ และได้รับการโปรดเกล้า ฯ แต่งตั้งในภายหลังให้เป็น “เจ้าพระยาวิชาเยนทร์” ส่วนภรรยาก็เป็นผู้ที่มีฝีมืดในการทำขนมแบบฝรั่ง จึงเข้าไปรับใช้ในวังเป็นผู้ควบคุมดูแลเรื่องพนักงานของหวาน และได้รับบรรดาศักดิ์ภายหลังเป็น

“ท้าวทองกลีบม้า” (ชื่อเดิมของท้าวทองกลีบม้าคือ ดอญากูโยมาร์ เดอปิยา เป็นคนเชื้อชาติโปรตุเกส)
ขนมหลายชนิดเช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง ขนมทองโปร่ง ทองพลุ ทองม้วน ขนมสำปันนี ขนมฝรั่ง และขนมหม้อแกง ที่บางคนนึกว่าเป็นขนมของชาติไทยนั้น แท้ที่จริงแล้วต้นตำรับคือท้าวทองกลีบม้า ท่านนี้เป็นผู้ถ่ายทอดให้แก่คนไทยทั้งสิ้น

ขนมหวานต่าง ๆ เริ่มที่จะมีมากขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ก่อนหน้าไม่เคยปรากฏ จะมีก็เพียงแต่ขนม 4 ถ้วยดั้งเดิมของไทยเท่านั้นนอกจากนี้ก็ยังมีขนมอีกหลายอย่างที่คนไทยได้รับเอามาจากต่างประเทศแล้วนำมาดัดแปลงรสชาติให้ถูกปากคนไทยมากยิ่งขึ้น ซึ่งก็คือ ขนมมัสกอดมาจากประเทศโปรตุเกส กะละแม เป็นขนมของประเทศฝรั่งเศส ขนมต้มแดง และต้มขาว ซึ่งต้นตำรับเดิมเป็นของพวกพราหมณ์ทมิฬ ที่นิยมนำมาเป็นเครื่องบวงสรวงสังเวยเทวดา ขนมเบื้องญวน ขนมบ้าบิ่น และข้าวต้มมัด ก็ล้วนแต่เป็นขนมจากต่างประเทศทั้งสิ้น โดยที่คนไทยรับเข้ามาแล้วโอนเป็นขนมไทยในที่สุด