วัฒนธรรมการรับประทานอาหารแต่ละภาค

อาหารสี่ภาค

       ใน แต่ละภาคของประเทศไทยมีความแตกต่างทางสภาพแวดล้อมและภูมิภาค รวมถึงขนบธรรมเนียมประเพณีท้องถิ่น ดังนั้น อาหารการกินของคนแต่ละภาคจึงต่างกันไปตามแต่วัตถุดิบที่หาง่ายที่นั้นๆ ซึ่งสามารถแบ่งได้ดังนี้

ภาคกลาง
คนไทยภาคกลางนิยมรับประทานข้าวเจ้า เป็นอาหารหลัก  มีกับข้าวหลายอย่างในแต่ละมื้อ โดยทั่วไปจะรับประทานอาหารที่มีรสกลมกล่อม ออกหวานนำเล็กน้อย วิธีปรุงซับซ้อน มีการตกแต่งจานอาหารให้สวยงามน่ารับประทาน อย่างเช่น น้ำพริกลงเรือ ซึ่งเป็นการนำน้ำพริกกะปิมาผัดให้แห้งจัดอย่างสวยงามแล้วรับประทานร่วมกับ เครื่องเคียงต่างๆ เช่น หมูหวาน ไข่เค็ม ปลาดุกฟู เป็นต้น

ภาคเหนือ

อาหาร ของภาคเหนือ ประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก มีน้ำพริกชนิดต่าง ๆ เช่น  น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง มีแกงหลายชนิด เช่น แกงโฮะ แกงแค นอกจากนั้นยังมีแหนม ไส้อั่ว แคบหมู  และผักต่าง ๆ สภาพอากาศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อาหารพื้นบ้านภาคเหนือแตกต่างจากภาคอื่น ๆ  นั่นคือ การที่อากาศหนาวเย็นเป็นเหตุผลให้อาหารส่วนใหญ่มีไขมันมาก เช่น น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล ไส้อั่ว เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น อีกทั้งการที่อาศัยอยู่ในหุบเขาและบนที่สูงอยู่ใกล้กับป่า จึงนิยมนำพืชพันธุ์ในป่ามาปรุงเป็นอาหาร เช่น ผักแค บอน หยวกกล้วย ผักหวาน ทำให้เกิดอาหารพื้นบ้าน ชื่อต่าง ๆ เช่น แกงแค แกงหยวกกล้วย แกงบอน อาหารพื้นบ้านภาคเหนือมีความพิเศษตรงที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมการกินจาก หลายกลุ่มชน เช่น ไทใหญ่ จีนฮ่อ ไทลื้อ และคนพื้นเมือง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภูมิประเทศส่วนใหญ่ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  อยู่ห่างไกลทะเลค่อนข้างแห้งแล้ง  คนอีสานจะ         คนอีสานรับประทานข้าวเหนียวเป็นหลัก รับประทานพืชผักที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ส่วนเนื้อสัตว์ต่างๆ นั้นได้มาจากสัตว์ซึ่งชาวบ้านเลี้ยงไว้เองในครัวเรือน รสชาติของอาหารค่อนข้างจัด ไม่นิยมอาหารที่มีรสหวาน  รสเปรี้ยวเกินไป ประกอบอาหารด้วยการปิ้งมากกว่าการทอด นอกจากสะดวกแล้วยังไม่ต้องมีอุปกรณ์มากมาย  นอกจากนี้ยังรับประทานแมลงต่างๆ เช่น มดแดง  ตั๊กแตน ดักแด้ แมงกุดจี่ ฯลฯ ที่สามารถหาได้ทั่วไปในธรรมชาติอีกด้วย

ภาคใต้
เป็นภาคที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลมากที่สุด
ลักษณะ ภูมิประเทศ   เป็นแหลมที่ยื่นลงไปในทะเลผู้คนที่อาศัยในดินแดนแถบนี้จึงนิยมทำการประมง เพราะมีทรัพยากรในท้องทะเลมากมาย เมื่ออาศัยอยู่ชายทะเลอาชีพเกี่ยวข้องกับทะเล    อาหารหลักในการดำรงชีวิตจึงเป็นอาหารทะเล  รสชาติของอาหารมีรสจัดกว่าภาคอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักของคนทั่วไปได้แก่ แกงไตปลา แกงเหลือง น้ำบูดู และเนื่องจากรสของอาหารค่อนข้างเผ็ด คนใต้จึงนิยมรับประทานผักสดกับอาหารเป็นเครื่องเคียงเพื่อช่วยรสความเข้มข้น ของแกงต่างๆ

เอกสารอ้างอิง :เสมอพร สังวาสี.  (2549).  อาหารไทยสี่ภาค. กรุงเทพฯ : Health & Cuisine.

ภาคใต้

วัฒนธรรมการกินภาคใต้

ภาคใต้…   เป็นภาคที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลมากที่สุด   ลักษณะภูมิประเทศ   เป็นแหลมที่ยื่นลงไปในทะเล
ผู้คนที่อาศัยในดินแดนแถบนี้จึงนิยมทำการประมง เพราะมีทรัพยากรในท้องทะเลมากมาย เมื่ออาศัยอยู่ชายทะเล
อาชีพเกี่ยวข้องกับทะเล    อาหารหลักในการดำรงชีวิตจึงเป็นอาหารทะเล
อาหารส่วนใหญ่ของคนภาคใต้  มักเกี่ยวข้องกับปลาและสิ่งอื่น ๆจากท้องทะเลอาหารทะเลหรือปลา โดยธรรมชาติจะมีกลิ่นคาวจัด  อาหารภาคใต้จึงไม่พ้นเครื่องเทศ โดยเฉพาะขมิ้นดูจะเป็นสิ่งที่แทบจะขาดไม่ได้เลยเพราะช่วยในการดับกลิ่นคาวได้ดีนัก  ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าอาหารปักษ์ใต้จะมีสีออกเหลือง ๆ แทบทุกอย่าง  ไม่ว่าจะเป็นแกงไตปลา แกงส้ม แกงพริก ปลาทอไก่ทอด ก็มีขมิ้นกันทั้งสิ้น    และมองในอีกด้านหนึ่งคงเป็นวัฒนธรรมการกินที่ผสมผสานกลมกลืนกันระหว่างชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในภาคใต้นั่นเอง
เพราะชีวิตของคนภาคใต้ เกี่ยวข้องกับทะเล   เมื่อออกทะเลหาอาหารมาได้มากเกิดรับประทานให้หมดในหนึ่งมื้อได้    คนภาคใต้จึงนำอาหารที่ได้จากทะเลมาทำการถนอมอาหาร  เช่น  กุ้งส้ม   ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กุ้งแตะ ซึ่งจะมีสีเขียว ชนิดนี้เมื่อนำมาทำเป็นกุ้งส้ม สีจะออกแดง ๆ และมีรสเปรี้ยว การทำกุ้งส้มนั้น นำกุ้งมาหมักกับเกลือ น้ำตาลทราย หมักทิ้งไว้ประมาณ 7 วันจนมีรสเปรี้ยว จึงนำมาทำอาหารรับประทานได้

–   ปลาขี้เสียดแห้ง คือการนำปลาสีเสียดมาใส่เกลือจนทั่วตัวปลา แล้วตากแดดให้แห้ง เก็บไว้รับประทานได้นาน
–   ปลาแป้งแดง คือการนำปลาโคบ หมักกับข้าวสุก เกลือ ใส่สีแดง หมักทิ้งไว้ 3-4 วัน จึงนำมาปรุงอาหารได้
–   ปลาเค็ม คือ การนำปลามาหมักกับเกลือ เมื่อก่อนชาวประมงออกหาปลา พอได้ปลามากก็หมักกับเกลือบนเรือ
ครั้นเรือเข้าฝั่งก็จะได้ปลาเค็มไว้รับประทาน

– กุ้งแห้ง คือ การนำกุ้งที่ได้มาเคล้ากับเกลือ แล้วตากแดดให้แห้ง เก็บไว้รับประทานได้นาน
– น้ำบูดู ได้จากการหมักปลาตัวเล็ก ๆ กับเกลือเม็ด โดยหมักไว้ในโอ่ง ไห หรือถังซีเมนต์ แล้วปิดฝาผนึกอย่างดี
ตากแดดทิ้งไว้ 2-3 เดือน หรือเป็นปี จึงนำมาใช้ได้ บูดูมีทั้งชนิดหวานและชนิดเค็ม ชนิดหวาน   ใช้คลุกข้าวยำ ปักษ์ใต้ ชนิดเค็ม ใช้ปรุงอาหารประเภทน้ำพริก เครื่องจิ้ม
-พุงปลา ได้จากการเอาพุงปลาทู หรือปลารังมารีดเอาสิ่งสกปรกออก แล้วใส่เกลือหมักไว้ 1 เดือนขึ้นไป จึงนำมา
ปรุงอาหารได้
-เนื้อหนาง คือ การนำเอาหัวของวัวไปย่างไฟอ่อน ๆ จนสุกทั่วกันดี แล้วแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นขูดเอาส่วนที่ไหม้
ออกจนขาวสะอาดดี เลาะเอาแต่เนื้อ นำมาเคล้ากับเกลือ น้ำตาลปีบ หมักทิ้งไว้ 2-3 คืน  จึงนำมาปรุงอาหารได้

อาหารปักษ์ใต้แม้จะเป็นอาหารที่อร่อย  น่าลิ้มลอง แต่สิ่งหนึ่งที่ประทับใจผู้คนคือความเผ็ดร้อนของรสชาติอาหารผู้คนในภาคใต้นิยมรสอาหารที่เผ็ดจัด  เค็ม   เปรี้ยว   แต่ไม่นิยมรสหวาน รสเผ็ดของอาหารปักษ์ใต้มาจากพริกขี้หนูสด พริกขี้หนูแห้งและพริกไทย ส่วนรสเค็มได้จากกะปิ เกลือรสเปรี้ยว ได้จากส้มแขก   น้ำส้มลูกโหนดตะลิงปลิง ระกำ มะนาว มะขามเปียก และมะขามสด เป็นต้นเนื่องจากอาหารภาคใต้มีรสจัด อาหารหลาย ๆ อย่างจึงมีผักรับประทานควบคู่ไปด้วย เพื่อลดความเผ็ดร้อนลงซึ่งคนภาคใต้ เรียกว่า ผักเหนาะ หรือบางจังหวัดอาจเรียกว่า ผักเกร็ด   ผักเหนาะของภาคใต้มีหลายอย่าง บางอย่างก็เป็นผักชนิดเดียวกับภาคกลาง เช่น มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว ถั่วพู ฯลฯ แต่ก็มีผักอีกหลายอย่างที่รู้จักกันเฉพาะคน ภาคใต้เท่านั้น การเสิร์ฟผักเหนาะกับอาหารปักษ์ใต้ ชนิดของผักจะคล้าย ๆกัน   หรืออาจเป็นผักที่ผู้รับประทานชอบก็ได้

ที่มา : http://student.swu.ac.th/sc481010115/southfood1.htm

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อาหารอีสาน

วิธีปรุงอาหารพื้นเมืองของแต่ละท้องถิ่น มีลักษณะแตกต่างกันออกไปและสอดคล้องกับ ธรรมชาติและทรัพยากรอาหาร ที่มีอยู่ในท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การเลือกวิธีการปรุง ที่เหมาะสมกับชนิดของวัตถุดิบ และเป็นที่ถูกปากและพึงพอใจแก่ผู้บริโภค สิ่งเหล่านี้มิได้เกิดขึ้น อย่างอิสระหรือโดยบังเอิญ หากแต่เป็นผลจากการกลั่นกรอง ภูมิปัญญาของชาวบ้านที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ โดยการเลือกสรรอาหารที่มีประโยชน์สอดคล้องกับวิถีชีวิต และตัดสิ่งที่เกิดโทษออกไป

สำหรับชาวจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ มีกรรมวิธีปรุงอาหารที่เรียบง่าย สะดวก รวดเร็วและมีรสชาติแตกต่างกันออกไป ชาวบ้านมีวิธีการปรุงอาหารเพื่อบริโภคในชีวิตประจำวัน โดยอาหารดังกล่าวจัดไว้ใน “พา” (ภาชนะ หรือ ภาชน์) ซึ่งทำด้วยหวาย หรือไม้ไผ่ หรือ วัสดุอื่น ซึ่งมีลักษณะกลมขนาดจะแตกต่างกันแล้วแต่ความเหมาะสมของแต่ละครอบครัว พา จะเป็นภาชนะสำหรับใส่อาหารต่าง ๆ ที่รับประทานกับข้าวเหนียว

ชื่ออาหารหรือกับข้าว ของชาว อีสานเรียกด้วยชนิดของวัสดุที่ใช้ทำ หรือประกอบอาหาร (มิได้เรียกชื่อตามลักษณะการทำให้อาหารสุก)

จะสังเกตได้ว่า อาหารหลายอย่างของพื้นเมืองนิยมใส่ “ข้าวคั่วและข้าวเบือ” อาหารที่นิยมใส่ข้าวคั่วได้แก่ ลาบ ก้อย ก้อยกุ้ง ซุบ ส่า แกงอ่อม (บางครอบครัว) ส่วนข้าวเบือนิยมใส่ในแกงหน่อไม้ และ แกงอ่อม เพื่อให้อาหารมีลักษณะสัมผัสดี มีความข้นของน้ำแกงพอเหมาะ เมื่อปั้นข้าวเหนียวจิ้มจะทำให้ติดข้าวเหนียวได้มาก จะได้รสชาติดียิ่งขึ้น

  • ข้าวคั่ว คือ การนำข้าวสารเหนียวนำไปคั่วในกระทะหรือหม้อด้วยไฟอ่อนๆ ให้เหลืองมีกลิ่นหอม แล้วนำมาตำให้ละเอียด
  • ข้าวเบือ คือ การนำข้าวหม่า (ข้าวสารเหนียวแช่น้ำก่อนนึ่ง) มาตำให้ละเอียดนิยมใส่ในแกงอ่อม แกงหน่อไม้ (จะตำข้าวเบือใส่กับใบย่านางก่อนนำไปคั้นเอาน้ำ กรองให้ใสทำเป็นน้ำแกง)

เครื่องปรุงที่ขาดไม่ได้และเป็นเครื่องปรุงหลักคือ “ปลาร้าหรือปลาแดก” ในวัฒนธรรมอีสานถือว่าเป็นหนึ่งใน “วิญญาณห้าของความเป็นอีสาน”  ได้แก่ ข้าวเหนียว ลาบ ส้มตำ หมอลำ และปลาร้า เพราะปลาร้าให้ทั้งรสและกลิ่นที่ชวนชิม ให้โปรตีน วิตามิน และเกลือแร่ครบครันทีเดียว

สิ่งที่ขาดไม่ได้ในพาข้าวของชาวอีสานที่จะต้องมีทุกมื้อแทบจะขาดมิได้คือ ผักนานาชนิด ผักต่างๆ นั้นส่วนใหญ่เก็บมาจากหัวไร่ปลายนา เป็นพืชที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ วิธีการเก็บผักมาบริโภคของชาวอีสานนั้นจะเก็บเฉพาะที่พอบริโภคในแต่ละมื้อ ไม่นิยมเก็บไว้เพื่อบริโภคมื้อต่อไป ดังนั้นหากสังเกตจากครัวชาวบ้านจะพบว่า ไม่มีกับข้าวที่ปรุงสำเร็จค้างไว้ จะมีเพียงแจ่วหรือปลาร้า หรืออาจมีปลาปิ้งเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น ก็ด้วยภูมิปัญญาชาวบ้านในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติที่มีคุณค่าอย่างยิ่ง การเก็บผักแต่พอบริโภคเท่ากับเป็นการต่อชีวิตพืชพรรณเหล่านั้นให้มีดำรงอยู่และแพร่กระจายออกไป ดังนั้นความคิดที่ว่า ชาวอีสานอดอยาก ขาดแคลนอาหารนั้น จึงเป็นคำกล่าวที่เกิดจากการเข้าใจผิด แท้ที่จริงแล้วพวกเขามีมาก จนไม่จำเป็นต้องเสียเวลาเก็บมาสะสมไว้ จะบริโภคเมื่อไรก็เดินไปเก็บ แหล่งอาหารของชาวอีสานไม่ได้อยู่ไกลจากบ้านของตนเลย มีอยู่ทุกที่ไม่ว่าริมรั้ว ห้วย หนอง หัวไร่ปลายนา ซึ่งล้วนแต่ได้คุณค่าทางโภชนาการ สดใหม่ เป็นพืชผักสมุนไพรที่ใช้รักษาโรคได้

แหล่งอนุรักษ์ธรรมชาติ (รวมทั้งแหล่งอาหารของชาวบ้านด้วย) คือ ประจำหมู่บ้าน ที่นี่เป็นที่หวงห้ามมิให้ใครบุกรุกเข้าไปทำลาย แต่เข้าไปเก็บเห็ด หาหน่อไม้ หายอดผักหวานและผักอื่นๆ มารับประทานได้ ดอนปู่ตา จึงเป็นภูมิปัญญาของชาวอีสานอย่างหนึ่งซึ่งเป็นแหล่งอาหารสำคัญรองมาจากแม่น้ำ

อย่างไรก็ดี ในการนำเสนอเรื่องอาหารในหัวข้อต่างๆ ณ ที่นี้อาจมีบ้างที่แตกต่างจากจังหวัดอื่นๆ ในภาคอีสาน ตลอดจนส่วนประกอบ/ส่วนผสมและการเรียกชื่ออาจจะแตกต่างกันด้วย

เอกสารอ้างอิง :อาหารอีสานรสแซบ | ศิลปะวัฒนธรรมอีสาน และภูมิปัญญาท้องถิ่นภาคอีสาน

ภาคกลาง

    อาหารการกิน

  • วัฒนธรรมการรับประทานของคนภาคกลาง

ภาคกลาง เป็นเขตที่ราบลุ่มแม่น้ำ  เหมาะแก่การเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์  ข้าวปลาอาหารอุดมสมบูรณ์ตลอดทั้งปี  จึงถือได้ว่าเป็นดินแดนซึ่งสมบูรณ์มากที่สุดในประเทศไทย  สมัยก่อนภาคกลางเป็นศูนย์กลางค้าขายสำคัญของประเทศไทย  มีการติดต่อค้าขายกับชาวต่างชาติอยู่
ตลอดจึงได้รับวัฒนธรรมการกินของชาติต่างๆ เข้ามาด้วย เช่น เครื่องแกง แกงกะทิ ได้รับมาจากชาวฮินดู

อาหารประเภท  ต้ม ผัด ได้รับมาจากชาวจีนผู้เข้ามาติดต่อค้าขายทางเรือสำเภา   แม้กระทั่งขนมหวานที่มีไข่และแป้งเป็นส่วนผสม  ก็ได้รับการสืบทอดมาจากชาวตะวันตกเช่นเดียวกัน  ซึ่งคนไทยได้นำสูตรอาหารต่างๆ มาประยุกต์ทำรับประทานในครัวเรือน โดยปรับเปลี่ยนวัตถุดิบที่หาได้ง่าย  ในประเทศมาใช้แทนกัน และเผยแพร่ในเวลาต่อมาจนเป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทยจวบจนปัจจุบัน

ด้วยความหลากหลายนี้เอง จึงส่งผลให้รสชาติอาหารภาคกลางไม่เน้นหนักไปทางใดทางหนึ่ง  โดยทั่วไปจะรับประทานรสกลมกล่อม ทั้งเปรี้ยว หวาน  เค็ม  รวมถึงความจัดจ้านของพริกคลุกเคล้ากันไปตามแต่ชนิดของอาหาร
คนภาคกลาง นิยมรับประทานข้าวเจ้าเป็นหลัก  ไม่ว่าจะเป็นข้าวขาวหอมมะลิ ข้าวขาวธรรมดา (ข้าวเสาไห้)  ข้าวกล้อง ข้าวกล้องหอมมะลิ ในการหุงข้าวแต่ละชนิด อัตราส่วนของน้ำ : ข้าวสาร จึงแตกต่างกันไปตามปริมาณเส้นใยอาหารที่มีอยู่ในข้าวนั้นๆ

  • วิธีการหุงข้าวเจ้า

ปัจจุบันมีหม้อหุงข้าวไฟฟ้า ใช้กันอยู่ในทุกครัวเรือน เพื่ออำนวยความสะดวก เหมาะกับครอบครัวที่ทำอาหารรับประทานเอง  โดยหลักการทำให้ข้าวสุกนั้นเหมือนกับการหุงข้าว แบบไม่เช็ดน้ำในสมัยก่อน อีกทั้งยังรักษาคุณค่าทางอาหารไว้ได้อย่างดีอีกด้วย ซึ่งได้ยกตัวอย่างการหุงข้าวเจ้าต่างๆ ไว้ดังนี้
– ข้าวขาวหอมมะลิ        ใช้ข้าวสาร   2  ถ้วย   :     น้ำ 2 ½   ถ้วย
– ข้าวขาวธรรมดา          ใช้ข้าวสาร   2  ถ้วย   :      3 ถ้วย
– ข้าวกล้องหอมมะลิ     ใช้ข้าวสาร   2  ถ้วย   :      4 ถ้วย
– ข้าวกล้องธรรมดา       ใช้ข้าวสาร   2  ถ้วย   :      5 ถ้วย

เอกสารอ้างอิง : เสมอพร สังวาสี.  (2549).  อาหารไทยสี่ภาค. กรุงเทพฯ : Health & Cuisine.

ภาคเหนือ

       อาหารพื้นบ้านภาคเหนือ
  


         ในอดีตบริเวณภาคเหนือของไทยเคยเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรล้านนามาก่อน ช่วงที่อาณาจักร  แห่งนี้เรืองอำนาจ ได้แผ่ขยายอาณาเขตเข้าไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น พม่า ลาว และมีผู้คนจากดินแดน  ต่าง ๆ อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในดินแดนแห่งนี้ จึงได้รับวัฒนธรรมหลากหลายจากชนชาติต่าง ๆ เข้ามา  ในชีวิตประจำวันรวมทั้งอาหารการกินด้วย 
     อาหารของภาคเหนือ ประกอบด้วยข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก มีน้ำพริกชนิดต่าง ๆ เช่น  น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง มีแกงหลายชนิด เช่น แกงโฮะ แกงแค นอกจากนั้นยังมีแหนม ไส้อั่ว แคบหมู  และผักต่าง ๆ สภาพอากาศก็มีส่วนสำคัญที่ทำให้อาหารพื้นบ้านภาคเหนือแตกต่างจากภาคอื่น ๆ  นั่นคือ การที่อากาศหนาวเย็นเป็นเหตุผลให้อาหารส่วนใหญ่มีไขมันมาก เช่น น้ำพริกอ่อง แกงฮังเล ไส้อั่ว เพื่อช่วยให้ร่างกายอบอุ่น อีกทั้งการที่อาศัยอยู่ในหุบเขาและบนที่สูงอยู่ใกล้กับป่า จึงนิยมนำพืชพันธุ์ในป่ามาปรุงเป็นอาหาร เช่น ผักแค บอน หยวกกล้วย ผักหวาน ทำให้เกิดอาหารพื้นบ้าน ชื่อต่าง ๆ เช่น แกงแค แกงหยวกกล้วย แกงบอน อาหารพื้นบ้านภาคเหนือมีความพิเศษตรงที่มีการผสมผสานวัฒนธรรมการกินจากหลายกลุ่มชน เช่น ไทใหญ่ จีนฮ่อ ไทลื้อ และคนพื้นเมือง  

         อาหารทุกชนิดจะรับประทานร่วมกับข้าวเหนียวหรือข้าวนึ่งใส่ในกระติ๊บข้าว อาหารอื่น ๆ ใส่ในถ้วย อาหารทั้งหมดจะนำไปวางบนขันโตก ซึ่งเป็นภาชนะใส่อาหารที่ทำจากไม้สักกลึงให้ได้รูป ขนาดพอดีกับการนั่งรับประทานบนพื้นบ้าน   อาหารพื้นบ้านภาคเหนือล้วนผ่านการปรุงแต่ง ดัดแปลงทั้งรสชาติและวัตถุดิบจากพื้นบ้านและ จากกลุ่มชนต่าง ๆ เป็นสำรับอาหารทางวัฒนธรรมของภาคเหนือที่สร้างชื่อเสียงเป็นที่ยอมรับทั้งในหมู่ คนไทยและชาวต่างชาติ 

ที่มา : http://lms.thaicyberu.go.th/officialtcu/main/advcourse/presentstu/course/others/wilaiporn/__76.html

เอกลักษณ์อาหารท้องถิ่น

ภาคกลาง

พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำหลายสายไหลผ่าน ข้าวปลาอาหารจึงอุดมสมบูรณ์เกือบตลอดทั้งปี รวมทั้งมีพืชผัก ผลไม้นานาชนิด

ด้วยเหตุนี้อาหารภาคกลางจึงเป็นอาหารที่มีความหลากหลาย ทำให้รสชาติของอาหารภาคกลางไม่เน้นไปทางรสใดรสหนึ่งโดยเฉพาะ คือมีทั้งรสเค็ม เผ็ด เปรี้ยว และหวานคลุกเคล้าไปตามชนิดต่างๆของอาหาร นอกจากนี้มักมีการใช้เครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส เช่น เครื่องเทศ และมักใช้กะทิเป็นส่วนประกอบของอาหาร

อาหารภาคกลางเป็นอาหารที่มักจะมีเครื่องเคียงของแนมร่วมรับประทานด้วย เช่น น้ำพริกลงเรือ แนมด้วยหมูหวาน น้ำปลาหวานทานกับสะเดา เป็นต้น

จุดเด่นคือ อาหารภาคกลางมักจะมีการประดิษฐ์ สร้างสรรค์อย่างวิจิตรบรรจง ผัก และผลไม้มีการแกะสลักอย่างสวยงาม แสดงให้เห็นถึงความเป็นเอกลักษณ์ของอาหารไทยที่มีศิลปะและวัฒนธรรมที่งดงาม 

 อาหารประจำภาคกลาง ห่อหมกปลา แกงเผ็ดเป็ดย่าง น้ำพริกลงเรือ  หมูหวาน หมี่กะทิ ยำวุ้นเส้น 

 

ภาคเหนือ

เป็นดินแดนที่มีความเจริญรุ่งเรืองมาแต่อดีต มีขนบธรรมเนียม ประเพณีที่แตกต่างไปจากภาคอื่นๆ

การรับประทานอาหารของทางภาคเหนือจะใช้โก๊ะข้าว หรือที่เรียกว่า ขันโตก แทน โต๊ะอาหาร โดยจะนั่งล้อมวงเพื่อรับประทานอาหารร่วมกัน

คนภาคเหนือจะรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก โดยอาหารของทางภาคเหนือจะเป็นอาหารที่สุกมากๆ และเป็นอาหารประเภทที่ผัดกับน้ำมันเป็นส่วนใหญ่
 

อาหารประจำภาคเหนือ ขนมจีนน้ำเงี้ยว ข้าวซอยไก่ น้ำพริกหนุ่ม แกงแคไก่ แกงฮังเล 

 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เป็นดินแดนที่ค่อนข้างแห้งแล้ง ทำให้อาหารพื้นเมืองจึงเป็นอาหารพวกแมลงหลายชนิด ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนที่หล่อเลี้ยงชีวิตประชากรในภาคนี้

อาหารอีสานส่วนใหญ่จะมีข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก ส่วนพืชผัก และเนื้อสัตว์ที่นำมาใช้ประกอบอาหารได้มาจากภายในท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่

อาหารอีสานมักใช้ปลาร้าเป็นเครื่องปรุงรสในอาหารเกือบทุกชนิด แต่ไม่นิยมใส่ในอาหารประเภทผัด และมักรับประทานคู่กับผักสด
 อาหารประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซุปหน่อไม้ น้ำพริกปลาร้า ลาบหมู ไส้กรอกหมู อ่อมปลาดุก

 

 

ภาคใต้

พื้นที่ติดชายฝั่งทะเล ลักษณะภูมิประเทศเป็นแหลมยื่นลงไปในทะเล ประชากรส่วนใหญ่จึงนิยมทำประมง

ด้วยเหตุนี้อาหารหลักของภาคใต้จึงเป็นอาหารทะเลสด และนิยมใช้เครื่องเทศในการปรุงอาหาร รสชาติจะเผ็ดร้อน เค็มและเปรี้ยว เช่น แกงไตปลา แกงส้ม และแกงเหลือง เป็นต้น

อาหารภาคใต้นิยมทานควบคู่กับผักเพื่อช่วยลดความเผ็ดร้อนลง ซึ่งเรียกว่า ผักเหนาะ เช่น มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว ถั่วพู สะตอเป็นต้น

 อาหารประจำภาคใต้ ข้าวยำ ผัดสะตอใส่กะปิ ขนมจีน – น้ำยา เนื้อคั่วกลิ้ง แกงไตปลาน้ำข้น   

 

ที่มา : Thai Food To World

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอาหารท้องถิ่น